ค่ารักษาพยาบาล ไม่ใช่หน้าที่ ของ “เงินสำรองฉุกเฉิน”แต่เป็นหน้าที่ของ “ประกันสุขภาพ”

ค่ารักษาพยาบาล ไม่ใช่หน้าที่ ของ “เงินสำรองฉุกเฉิน”แต่เป็นหน้าที่ของ “ประกันสุขภาพ”

ค่ารักษาพยาบาล ไม่ใช่หน้าที่ ของ “เงินสำรองฉุกเฉิน”แต่เป็นหน้าที่ของ “ประกันสุขภาพ”
ค่ารักษาพยาบาล ไม่ใช่หน้าที่ ของ “เงินสำรองฉุกเฉิน”

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ที่ทุกคนต้องเจอ เพียงแต่ปัญหาคือ “ เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นวันไหน ? ” .

เชื่อว่าหลายคนที่ตัดสินใจไม่ทำประกัน เพราะมองว่าทำแล้ว “ ได้ไม่คุ้มเสีย ” ยังไงร่างกายก็แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายๆ และถึงแม้จะเจ็บป่วย ก็ยังมี “ เงินสำรองฉุกเฉิน ” ที่เก็บไว้ เดี๋ยวเอาตรงนั้นมาใช้จ่ายรักษาตัวก็ได้ .

บอกได้เลยว่า ถ้าใครคิดแบบนี้อยู่ ต้องรีบคิดใหม่ เพราะเงินสำรองฉุกเฉิน วัตถุประสงค์ คือ การเก็บเพื่อไว้จ่าย “ รายจ่ายประจำของแต่ละเดือน ” ในสถานการณ์ที่เราขาดรายได้กะทันหัน ไม่ได้มีไว้สำหรับจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายรายเดือน อีกทั้ง เงินสำรองฉุกเฉิน ส่วนมากก็จะเก็บอยู่ที่ประมาณ “ หลักหมื่นถึงแสนต้นๆ ” ซึ่งบอกได้เลยว่า ค่ารักษาที่ต้องเจออาจเกินกว่าเงินสำรองฉุกเฉินที่เรามีไว้ .

สิ่งเหล่านี้คือความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หลังจากที่เกิดวิกฤติการระบาดใหญ่ คนไทยจำนวนมากก็หันมาสนใจทำ “ ประกันสุขภาพ ” กันมากขึ้น เพื่อเป็นหลักรับรองว่าหากเจ็บป่วยขึ้นมา อย่างน้อยก็มีคนจ่ายค่ารักษาให้ หรือได้เงินชดเชย .

อีกทั้ง การซื้อประกันสุขภาพ ก็ถือว่าเป็น “ ความฉลาดทางการเงิน ” อย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมมากขึ้น เพราะอะไรเราจึงต้องซื้อประกัน .

1.อุตส่าห์เก็บเงินแทบตาย แต่ถ้าป่วยขึ้นมาก็หมดตัวได้ !

คนเรามักจะโฟกัสที่การสร้างความมั่งคั่ง ทำอย่างไรเราถึงจะรวย ? แต่ลืมคิดไปว่าต่อให้เราออมเงินเป็นล้าน แต่ถ้าเจ็บป่วยขึ้นมา อาจต้องใช้เงินรักษามากกว่านั้น หลายคนถึงขั้นหมดตัวเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าไม่อยากให้ความพยายามที่ทำมาสูญเปล่า ต้องปิดความเสี่ยงนี้ตั้งแต่แรก ด้วยการซื้อประกันสุขภาพ .

2.จ่ายเบี้ยหลักร้อย หลักพัน แต่คุ้มครองหลักล้าน .

อย่างที่บอกไปว่า หลายคนคิดว่าการซื้อประกันสุขภาพนั้นไม่คุ้ม เพราะมันคือการจ่ายเบี้ยทิ้ง แต่ลองคิดในมุมกลับกันดูว่า ถ้าเราเจ็บป่วยขึ้นมา เบี้ยประกันหลักร้อย-หลักพันต่อเดือน มันสามารถเปลี่ยนเป็นวงเงินค่ารักษาหลักแสน-หลักล้านได้ โดยที่เราไม่ต้องควักเนื้อจ่ายเอง ฟังแล้วดูคุ้มค่าขึ้นมาทันที ถึงจะแอบคิดว่าจะต้องมาปวดหัวกับการเคลมประกันก็ตาม.

3.ประกันสุขภาพ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย .

จริงๆ แล้วการซื้อประกันสุขภาพ ก็ใช่ว่าจะเสียเงินทิ้งไปซะทีเดียว เพราะถ้าเราเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ เราก็สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของตัวเอง มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท ฟังมาถึงตรงนี้เหมือนเราจะได้อะไรกลับมาบ้างแล้วนะ .

[ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อประกันสุขภาพ]

โดยปกติแล้ว การคิดเบี้ยประกันสุขภาพจะขึ้นอยู่กับ  ความเสี่ยง หรืออายุของผู้ประกันเอง ค่าเบี้ยประกันจึงมักปรับขึ้นตามอายุ เช่น ทุกๆ 5 ปี หรือบางแห่งอาจจะปรับขึ้นตามอายุที่ลงท้ายด้วยเลข 1 หรือ 6 ตัวอย่างเช่น 26, 31, 36, 41, 46 เป็นต้น .

ซึ่งคนที่อายุมาก มักจะต้องจ่ายค่าเบี้ยสูงขึ้น เพราะร่างกายเสื่อมถอย มีโอกาสป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้มากกว่า ยิ่งถ้ามีประวัติรักษาโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ประกันสุขภาพอาจปฏิเสธ หรือยกเว้นความคุ้มครองบางอย่าง หรือหากรับทำประกันก็ต้องจ่ายค่าเบี้ยสูงขึ้นราว 25-50% เลยทีเดียว เพราะงั้นการทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อย ย่อมดีกว่าการที่เรามาทำตอนอายุมากแล้ว .

สุดท้ายนี้ เพื่อความมั่งคั่งอย่างที่เราตั้งใจไว้ การมีประกันสุขภาพซักเล่มในยามที่เราเจ็บป่วย จะช่วยให้เรารักษาความมั่งคั่งของเราได้ และประกันสุขภาพนั้นมีทั้งแบบที่ครบอายุสั้นยา และจะได้รับเบี้ยเงินคืน กับแบบที่ไม่ได้รับเบี้ยเงินคืน เพราะอย่างนั้นก่อนเราตัดสินใจซื้อควร อ่านรายละเอียดประกัน และทำความเข้าใจให้ดีก่อนการตัดสินใจ .